ประวัติภาพยนตร์โลก
หน้า 1 จาก 1
ประวัติภาพยนตร์โลก
ประวัติภาพยนตร์โลก
ภาพยนตร์์ หรือ “หนัง” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 เมื่อพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (cinematography) ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ใต้ถุนร้านกาแฟในกรุงปารีส
แต่ที่จริงแล้ว ความฝันว่าด้วยการสร้างภาพยนตร์ ได้มีมาก่อนหน้านั้น ดังที่ปรากฏในรูปของเล่นต่างๆ ซึ่งใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) เช่น thaumatrope แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพยนตร์บนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้ หรือ zootrope ชุดภาพที่ใส่อยู่ในกล่องทรงกลมซึ่งติดอยู่บนแกนหมุน เมื่องมองเข้าไปตามช่องแล้วหมุน จะเห็นเป็นรูปเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น
หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดยนักทฤษฎีชาวอังกฤษ
ในปี พ.ศ. 2367 เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลักธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง แล้วหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
ช่วงที่ยังไม่เกิดภาพยนตร์มากนัก มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง หนึ่งในผู้บุกเบิกก็คือ เอ็ดเวิร์ด ไมย์บริด (eadweard muybridge) ซึ่งรับท้าพนันเจ้าของคอกม้าแห่งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า ในเวลาม้าวิ่ง จะมีชั่วขณะหนึ่งขาของม้าลอยขึ้นมาพื้นทั้ง 4 ขา เขาได้ทดลองโดยการถ่ายภาพม้าวิ่งด้วยกล้อง 12 ตัว นำสไลด์มาติดบนวงล้อ แล้วฉายด้วยเมจิกแลนเทิร์น (megic latern) ซึ่งเป็นเครื่องฉายสไลด์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเวลานั้น นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าสมมุติฐานนั้นเป็นจริง ยังเห็นภาพม้าเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงอีกด้วย
กลุ่มนักประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน (thomas alva edison) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ แต่บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการประดิษฐ์ คือ วิลเลียม ดิกสัน (william kenedy laurie dickson) ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขา ดิกสันได้พัฒนากล้องที่เรียกว่า คิเนโตโฟโนกราฟ (kinetophonograph) โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze จากนั้นนำมาฉายดูในเครื่องฉายที่เรียกว่า คิเนโตส่โคป (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องถ้ำมองที่ดูได้ทีละคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดของเอดิสันที่เชื่อว่า การดูได้ทีละคนจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้คนยอมจ่ายค่าดู แต่เอดิสันคิดผิด เพราะสิ่งที่ทำให้หนังของพี่น้องลูมิแอร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักหมายที่หนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกนั้น ก็คือ การที่เขาพัฒนาให้ฉายขึ้นจอใหญ่และดูได้ทีละมากๆ จนทำให้ภาพยนตร์เป็นมหรสพสาธารณะที่สร้างวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลกในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา
ภาพยนตร์์ หรือ “หนัง” เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 เมื่อพี่น้องลูมิแอร์นำประดิษฐกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (cinematography) ออกฉายแก่สาธารณชนและเก็บค่าเช้าชมเป็นครั้งแรก ณ ใต้ถุนร้านกาแฟในกรุงปารีส
แต่ที่จริงแล้ว ความฝันว่าด้วยการสร้างภาพยนตร์ ได้มีมาก่อนหน้านั้น ดังที่ปรากฏในรูปของเล่นต่างๆ ซึ่งใช้หลักการที่เรียกว่า การเห็นภาพติดตา (persistence of vision) เช่น thaumatrope แผ่นกระดาษวงกลมที่ผูกเชือกสองด้าน ภาพยนตร์บนแผ่นกระดาษด้านหนึ่งเป็นรูปกรง อีกด้านเป็นรูปนก เมื่อหมุนเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็วๆ จะเห็นเป็นภาพนกอยู่ในกรงได้ หรือ zootrope ชุดภาพที่ใส่อยู่ในกล่องทรงกลมซึ่งติดอยู่บนแกนหมุน เมื่องมองเข้าไปตามช่องแล้วหมุน จะเห็นเป็นรูปเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น
หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดยนักทฤษฎีชาวอังกฤษ
ในปี พ.ศ. 2367 เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลักธรรมชาติของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง แล้วหากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1 ส่วน 3 วินาที ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของคนจะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
ช่วงที่ยังไม่เกิดภาพยนตร์มากนัก มีนักประดิษฐ์หลายคนพยายามที่จะบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องภาพนิ่ง หนึ่งในผู้บุกเบิกก็คือ เอ็ดเวิร์ด ไมย์บริด (eadweard muybridge) ซึ่งรับท้าพนันเจ้าของคอกม้าแห่งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่า ในเวลาม้าวิ่ง จะมีชั่วขณะหนึ่งขาของม้าลอยขึ้นมาพื้นทั้ง 4 ขา เขาได้ทดลองโดยการถ่ายภาพม้าวิ่งด้วยกล้อง 12 ตัว นำสไลด์มาติดบนวงล้อ แล้วฉายด้วยเมจิกแลนเทิร์น (megic latern) ซึ่งเป็นเครื่องฉายสไลด์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเวลานั้น นอกจากจะพิสูจน์ได้ว่าสมมุติฐานนั้นเป็นจริง ยังเห็นภาพม้าเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงอีกด้วย
กลุ่มนักประดิษฐ์ของโทมัส อัลวา เอดิสัน (thomas alva edison) ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในยุคบุกเบิกของภาพยนตร์ แต่บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการประดิษฐ์ คือ วิลเลียม ดิกสัน (william kenedy laurie dickson) ผู้ช่วยคนหนึ่งของเขา ดิกสันได้พัฒนากล้องที่เรียกว่า คิเนโตโฟโนกราฟ (kinetophonograph) โดยใช้ฟิล์มเซลลูลอยด์ ของ จอร์จ อีสต์แมน (george eastman) ซึ่งออกใหม่ในขณะนั้น หนังเรื่องแรกที่ถ่ายทำ คือ fred ott’s sneeze จากนั้นนำมาฉายดูในเครื่องฉายที่เรียกว่า คิเนโตส่โคป (kinetoscope) ซึ่งเป็นเครื่องถ้ำมองที่ดูได้ทีละคน ทั้งนี้เป็นไปตามความคิดของเอดิสันที่เชื่อว่า การดูได้ทีละคนจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นให้คนยอมจ่ายค่าดู แต่เอดิสันคิดผิด เพราะสิ่งที่ทำให้หนังของพี่น้องลูมิแอร์ได้รับการยกย่องให้เป็นหลักหมายที่หนึ่งแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลกนั้น ก็คือ การที่เขาพัฒนาให้ฉายขึ้นจอใหญ่และดูได้ทีละมากๆ จนทำให้ภาพยนตร์เป็นมหรสพสาธารณะที่สร้างวัฒนธรรมร่วมของคนทั่วโลกในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา
payseed92- จำนวนข้อความ : 6
Join date : 29/01/2009
หน้า 1 จาก 1
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ